ข้อมูลข่าวสาร



รากฟันเทียมเหมาะกับใคร และเหมาะกับการรักษาปัญหาสุขภาพฟันเรื่องใดบ้าง?


สุขภาพฟันที่ดีนับเป็นส่วนหนึ่งของสุขภาพร่างกายที่ดีด้วย เพราะนอกจากมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย คือ การใช้บดเคี้ยวอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารแล้ว ยังช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดูดี และในเรื่องของความงามบนใบหน้า รวมถึงการพูดการสื่อสารออกเสียงได้ชัดเจน หรือการพูดได้อย่างชัดถ้อยชัดคำ ดังนั้นการดูแลสุขภาพฟันจึงเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตของคนเรา แต่หากใครพบกับปัญหาสุขภาพฟันแล้วไม่ถึงขนาดต้องหมดหวังไป เพราะในปัจจุบันมีวิธีการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยแก้ไขและรักษาปัญหาสุขภาพฟันที่ได้ผลดียิ่งขึ้นมากกว่าแต่ก่อน ทำให้ชีวิตของเราสมบูรณ์ขึ้นได้

 

รากฟันเทียมเหมาะกับใครบ้าง?

โดยทั่วไปรากฟันเทียมสามารถทำได้กับผู้ใหญ่ที่มีอายุ 21 ปี ขึ้นไป และมีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะรับการผ่าตัดในช่องปากได้อย่างปลอดภัย กรณีวัยรุ่น หรือผู้ที่อายุยังไม่ถึง 21 ปี จะยังมีการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรอยู่ จำเป็นต้องรอให้ขากรรไกรหยุดการเจริญเติบโตก่อน จึงจะสามารถใส่รากฟันเทียมได้ กรณีผู้มีความจำเป็นด้านอื่นๆ ที่ต้องการทำรากฟันเทียมสามารถจำแนกได้ดังนี้

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่างที่เป็นสาเหตุให้ต้องสูญเสียฟันธรรมชาติไป เช่น ต้องรับการฉายรังสีบริเวณใบหน้าและขากรรไกร เป็นโรคเบาหวานหรือสูบบุหรี่จัด
  • ผู้ที่มีภาวะกระดูกขากรรไกรไม่แข็งแรง
  • ผู้ป่วยจิตเวชที่ไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพทางช่องปากได้เอง
  • ผู้ที่มีปัญหาฟันแตกเสียหาย จากการขบเคี้ยวหรือเกิดอุบัติเหตุ
  • ผู้ที่มีปัญหาด้านการออกเสียง

 

การดูแลรักษารากฟันเทียม และฟันธรรมชาติ

  • การทำความสะอาดช่องปาก และฟันธรรมชาติ ฟันเทียม ด้วยแปรงขัดที่มีลักษณะพิเศษ ขนาดเล็ก สำหรับซอกฟัน จะช่วยกำจัดเศษอาหารและคราบจุลินทรีย์รอบฟัน เหงือก และรากฟันเทียม
  • การเข้ารับการตรวจช่องปากกับทันตแพทย์เป็นประจำ เพื่อตรวจฟัน และดูสภาวะของรากฟันเทียม หากมีสิ่งผิดปกติจะได้แก้ไขเสียแต่เนิ่นๆ
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง การเคี้ยวอาหารที่มีความแข็ง เช่น น้ำแข็ง กระดูกอ่อน ซึ่งสามารถทำให้ครอบฟันแตกหัก หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือ ดื่มน้ำชา กาแฟ หรือ อาหารที่มีความเหนียวติดฟันได้ง่าย ซึ่งจะก่อให้เกิดคราบ และหากมีพฤติกรรมคบเคี้ยวฟัน หรือนอนกัดฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะดังกล่าว

 

การรักษาด้วยการฝังรากเทียมนี้ หากได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง และเข้ารับการตรวจสภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ ฟันทดแทนนี้ก็สามารถมีอายุการใช้งานเสมือนหนึ่งฟันแท้ซี่อื่นๆ เช่นกัน

 

 

ข้อมูลอ้างอิงประกอบ : https://dt.mahidol.ac.th/th/ทันตกรรมรากฟันเทียม-2/

ขอบคุณภาพ : pexels.com